Be a fan on our Facebook CSJOY.COM

Products & Services - สินค้าและบริการ

Our Portfolio - ผลงานของเรา

 

เคล็ดลับนี้ อ่านให้ดี สุขภาพดี หุ่นดี มีประโยชน์
ชักชวนมาอ่านฉลากโภชนาการ

 สุขภาพดี หุ่นดี อยู่ที่การอ่าน (ฉลากโภชนาการ)
 สุขภาพดี หุ่นดี อยู่ที่การออกกำลังกาย
 สุขภาพดี หุ่นดี อยู่ที่การควบคุมอาหาร

  สุขภาพดี หุ่นดี อยู่ที่การอ่าน (ฉลากโภชนาการ)
"รู้จักกันไว้ ฉลากโภชนาการคืออะไร"

       ฉลากโภชนาการ ก็คือฉลากอาหารที่มีการแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นไว้บนฉลากนั่นเอง โดยแสดงเป็นกรอบข้อมูลโภชนาการที่ระบุรายละเอียดของชนิดและปริมาณสารอาหารที่มีในอาหารนั้นไว้ให้ ทำให้เราทราบว่าเมื่อรับประทานอาหารชนิดนั้นเข้าไป เราจะได้รับสารอาหารอะไร ปริมาณเท่าไร และปริมาณนั้นคิดเป็นร้อยละเท่าไรของปริมาณที่เราควรได้รับในแต่ละวัน
     เผยโฉมฉลากโภชนาการให้รู้จัก

การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการ มี 2 วิธี คือ

1. การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการอย่างเต็ม

2. การแสดงกรอบข้อมูลโภชนาการอย่างย่อ

 จากภาพหัวข้อที่ letters_whitebg_red1.gif letters_whitebg_red2.gif "จำให้ได้ ไม่มีพลาด"

      letters_whitebg_red1.gif "หนึ่งหน่วยบริโภค" หมายถึง กินครั้งละเท่าไรนั่นเอง หน่วยที่แสดงอาจจะเป็น กระป๋อง กล่อง ชิ้น ถ้วย แก้ว ช้อนโต๊ะ ตามด้วยหน่วยของน้ำหนักหรือปริมาตรอยู่ในวงเล็บ เช่น กรัม หรือ มิลลิลิตร แล้วแต่ประเภทของผลิตภัณฑ์ ปริมาณนี้เป็นปริมาณที่ผู้ผลิตแนะนำให้ผู้บริโภครับประทาน โดยผู้ผลิตประมาณการจากปริมาณที่คนไทยโดยเฉลี่ยทั่วไปรับประทานใน 1 ครั้งซึ่งเมื่อรับประทานในปริมาณ "หนึ่งหน่วยบริโภค" ที่ระบุนี้แล้วผู้บริโภคจะได้รับพลังงานและสารอาหารตามที่ระบุภายใต้หัวข้อ "คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค" หรือตามหมายเลข 4, 5 และ 6 ในกรอบข้อมูลโภชนาการที่แสดงตัวอย่างไว้ ทั้งนี้ชนิดของสารอาหารและปริมาณที่ได้รับจะแตกต่างกันไปตามชนิดของผลิคภัณฑ์อาหาร
       letters_whitebg_red2.gif "จำนวนหน่วยบริโภคต่อภาชนะบรรจุ" หมายถึง เมื่อรับประทานครั้งละ "หนึ่งหน่วยบริโภค" แล้ว ซองนี้ ขวดนี้ หรือกล่องนี้รับประทานได้กี่ครั้ง ซึ่งขึ้นอยู่กับภาชนะบรรจุ ที่ผู้ผลิตบรรจุอาหารไว้ ถ้าขนาดใหญ่ก็อาจรับประทานได้หลายครั้ง ถ้าขนาดเล็กก็อาจรับประทานได้ครั้งเดียว เป็นต้น
        "คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค" หมายถึง เมื่อรับประทานครั้งละตามปริมาณที่ระบุไว้ใน "หนึ่งหน่วยบริโภค" แล้วจะได้รับพลังงานและสารอาหารอะไรบ้าง ในปริมาณน้ำหนักจริงเท่าใด และปริมาณนี้คิดเป็นร้อยละเท่าไร ของปริมาณที่ควรได้รับในแต่ละวัน ดังตัวอย่างกรอบข้อมูลโภชนาการที่แสดงไว้ในภาพข้างต้น เพื่อให้ทราบเป็นแนวทาง โดยคุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภคคือที่ระบุในหมายเลข 4, 5 และ 6

สุขภาพดี หุ่นดีสมส่วน ด้วยฉลากโภชนาการ

       เมื่ออ่านข้อมูลโภชนาการ ตามสูตร 1-2-3 เข้าใจแล้ว เราก็คำนวณปริมาณสารอาหารที่เรารับประทานต่อครั้ง หรือต่อวันได้ไม่ยากเลย เช่น ถ้าไม่ต้องการอาหารที่มีปริมาณไขมันสูง ก็ดูจากปริมาณของไขมันทั้งหมด ไขมันอิ่มตัว ที่ระบุไว้ในกรอบข้อมูลโภชนาการของฉลากบนภาชนะของผลิตภัณฑ์อาหารนั้นๆ หรือถ้าไม่ต้องการคาร์โบไฮเดรตมาก ก็ดูจากปริมาณคารฺโบไฮเดรต ที่ระบุไว้ เป็นต้น ที่ต้องระวังคือการไม่รับประทานเกินปริมาณ "หนึ่งหน่วยบริโภค" ที่แนะนำ เช่น มันฝรั่งถุงใหญ่ ระบุไว้ว่า "จำนวนหน่วยบริโภคต่อถุง : 4" แสดงว่าแบ่งรับประทานได้ 4 ครั้ง ถ้ารับประทานหมดถุงภายในครั้งเดียว คือ 4 หน่วย เราก็จะได้รับปริมาณสารอาหารเป็น 4 เท่าของปริมาณที่ระบุไว้ ทำให้อาจได้รับสารอาหารบางอย่างมากเกินความจำเป็นเพราะอย่าลืมว่าในแต่ละวันเราไม่ได้รับประทานอาหารเฉพาะอาหารสำเร็จรูป หรือกึ่งสำเร็จรูปนี้เท่านั้น แต่เรายังได้รับสารอาหารจากอาหารทั่วๆ ไปทุกอย่าง ที่รับประทานด้วย

"รู้เคล็ดลับนี้ ปฏิบัติดีๆ สุขภาพดี หุ่นดี มีประโยชน์"

 สุขภาพดี หุ่นดี อยู่ที่การออกกำลังกาย

       การออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยเสริมสร้างให้ร่างกายแข็งแรง มีสุขภาพดี เจริญเติบโต และรูปร่างได้สัดส่วน ผ่อนคลายความเครียด ความวิตกกังวล ทำให้อารมณ์ดี ช่วยป้องกันโรคภัยไข้เจ็บ รวมทั้งลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค เช่น หลอดเลือดหัวใจอุดตัน โรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานและโรคอื่นๆ
       การออกกำลังกายควรเลือกวิธีที่ใช้กล้ามเนื้อทุกส่วนของร่างกาย ซึ่งการใช้พลังงานในการออกกำลังกายจะมากน้อยต่างกันตามวิธี / ประเภท เช่น บาสเกตบอล ว่ายน้ำ วิ่ง ถีบจักรยาน เต้นรำ และเต้นแอโรบิค นอกจากนี้ยังสามารถเลือกออกกำลังกายโดยวิธีบริหารส่วนต่างๆ ของร่างกายดังนี้

ท่าบริหารหน้าท้อง (ทำ 12-16 ครั้งต่อวัน ขณะนอนราบให้หายใจเข้า ยกตัวขึ้นให้หายใจออก)
"หน้าท้องชวนชม"

     นอนราบกับพื้น ชันเข่าขึ้น ขาห่างจากกันเล็กน้อย แขนทั้งสองวางราบกับพื้นเหนือศีรษะ งอศอกเล็กน้อย เริ่มปฏิบัติโดยการเกร็งหน้าท้อง ยกลำตัวช่วงบนไหล่และช่วงแขนขึ้นให้พ้นพื้นมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในลักษณะยืดแขนทั้งสองอยู่เหนือสะโพก แล้วจึงลดตัวลงนอนราบในท่าเตรียม

ท่าบริหารร่างกายช่วงบน
"สมส่วนสรรพางค์" (จังหวะ 1-2 นับเป็น 1 ครั้ง ทำวันละ 30 ครั้ง)

     นั่งบนม้ายาวหรือเก้าอี้ ขากางออก มือทั้ง 2 ข้างถือดัมเบลล์ไว้ข้างละอัน พักไว้บริเวณช่วงสะโพก
     จังหวะที่ 1 เอียงตัวไปทางซ้าย ปล่อยแขนเหยียดตรงลงไปให้ใกล้พื้นมากที่สุด
     จังหวะที่ 2 เอียงตัวไปทางขวาและทำเช่นเดียวกัน พยายามตรึงช่วงขาให้แน่น เพื่อให้สะโพกอยู่นิ่งกับที่มากที่สุด

"เอวบางร่างน้อย" (จังหวะที่ 1-2 นับเป็น 1 ครั้ง ทำวันละ 30 ครั้ง)

     นั่งบนม้ายาวหรือเก้าอี้ มือทั้ง 2 ข้าง ถือดัมเบลล์ไว้ข้างละอัน
     จังหวะที่ 1 เหยียดแขนขึ้นเหนือศีรษะ
     จังหวะที่ 2 งอศอกลงมาจนแขนเป็นแนวตั้งฉาก ต้นแขนขนานกับพื้น
     จังหวะที่ 3 และ 4 บิดลำตัวไปด้านซ้าย-ขวา

ท่าบริหารร่างกายช่วงล่าง 

"ต้นขากระชับ"
     นอนตะแคงกับพื้น แต่ขาซ้ายอยู่บนเหยียดตรงออก จากนั้นเตะขาขึ้นและลง นับเป็น 1 ครั้ง ทำ 20 ครั้ง ตลอดเวลาที่ปฏิบัติให้พยายามเกร็งขาด้านบน ไม่ให้แตะขาด้านล่าง
     (ทำ 20 ครั้ง แล้วเปลี่ยนให้ขาขวาอยู่ด้านบนทำลักษณะเดียวกันอีก 20 ครั้ง)

"สะโพกรับทรวดทรง"
     นอนตะแคงกับพื้น ขาทั้งสองงอเป็นมุมฉาก แต่ให้เกร็งขาซ้ายไว้ให้ลอยเหนือขาขวา และกระดกปลายเท้าด้วย จากนั้นยกขาซ้ายขึ้น-ลง  โดยไม่ให้แนบขาขวา นับเป็น 1 ครั้ง
     (ทำ 20 ครั้ง แล้วเปลี่ยนให้ขาขวาอยู่ด้านบนทำลักษณะเดียวกันอีก 20 ครั้ง)

สุขภาพดี หุ่นดี อยู่ที่การควบคุมอาหาร

     อาหารที่เราพบเห็นในชีวิตประจำวันนั้น มีมากมายหลายประเภท แต่การรู้จักเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ต่อสุขภาพให้หลากหลายและครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะเลือกกินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลต่ำ ควบคู่กับการดูแลน้ำหนักตัว จะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยให้มีหุ่นดี สุขภาพดี และไม่อ้วน

"อ้วนหรือไม่ ? รู้ได้จากนี่"

     การที่สภาวะร่างกายมีน้ำหนักตัวมากกว่าปกติ โดยมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังเรียกว่า "อ้วน" ซึ่งเราจะทราบได้อย่างไรว่าอ้วนหรือไม่ สามารถทดสอบได้จากการใช้ดัชนีมวลกาย (Body Mass Index หรือ BMI) เป็นตัววัด โดยมีสูตรในการคำนวณดังนี้

 

เช่น ถ้ามีน้ำหนักตัว 55 กิโลกรัม มีความสูง 175 เซนติเมตร หรือ 1.75 เมตร

BMI = 55/1.752  = 17.97 ก็จัดอยู่ในกลุ่มที่ ค่อนข้างผอม *

ตารางมาตรฐานสำหรับเปรียบเทียบความเหมาะสมของน้ำหนักตัว โดยใช้วิธีวัดค่า BMI

ภาวะโภชนาการ

BMI

อ้วนผิดปกติ

มากกว่าหรือเท่ากับ 40.00

อ้วน

30.00 - 39.99

ท้วม

25.00 - 29.99

เหมาะสม

18.50 - 24.99

ค่อนข้างผอม *

17.00 - 18.49

ผอม

16.00 - 16.99

ผอมผิดปกติ

น้อยกว่า 16.00

โครงการรณรงค์ "อ่านฉลากโภชนาการ" ปี 2544
กดรับฟังข้อมูลเพิ่มเติมที่ สายด่วนผู้บริโภคกับ อย. โทร. 1556 ต่อ 0209-0214

อย.- องค์การอาหารและยา ประเทศไทย

เอกสารผลิตโดย กองเผยแพร่และควบคุมการโฆษณา สิงหาคม 2544

ที่มา : รายการ "เพื่อนหญิง พลังหญิง"
On air :
จันทร์-ศุกร์ เวลา 8:40-9:45 น. ทางช่อง 3
ผู้ขอข้อมูล :
ธัญชนก สุตันทวงษ์
จัดทำโดย :
กัญญาภัค แม๊คมานัส

Design by Kanyapak McManus : CSJOY.COM Be a fan on facebook fanpage
CSJOY.COM WEBBOARD-กระดานสนทนา

scarecrow.gif

สวัสดีค่ะ-  กลับเข้าสู่หน้าแรก : Go to main page  สวัสดีครับ

Copyright(c) by CSJOY.COM, All rights reserved. Identification Number of DBD Thailand 0207314801370