Be a fan on our Facebook CSJOY.COM

Products & Services - สินค้าและบริการ

Our Portfolio - ผลงานของเรา

 

 

วิธีการเลือกลูกสุนัขที่มีสุขภาพดี 

 

- แววตา ร่าเริง แจ่มใส ไม่มีน้ำตา หรือตาเจ็บ ตาแดง

- จมูกชื้น เย็น ไม่มีน้ำมูก เหงือกเป็นสีชมพู

- ฟันสบกันดี ขาวสะอาด ไม่มีฟันเก

- ขนเป็นมันเงา ไม่มีกลิ่นตัว ไม่มีเห็บหมัด

- กล้ามเนื้อแน่นตึง ลำตัวได้มาตรฐาน ไม่ผอมจนเห็นกระดูกซี่โครง

- ท่ายืนดี ขาไม่แบะหรือกาง ไม่ได้สัดส่วน

- ใบหูด้านในสะอาด ไม่มีขี้หู  ไม่มีกลิ่นเหม็น

- ก้นสะอาด ไม่มีอุจจาระเปียกติด  หรือบวมแดง ซึ่งจะเป็นลักษณะที่บ่งบอกว่าลูกสุนัขท้องเสีย

ลักษณะทั่วไปของสุนัขที่ปกติ

อุณหภูมิ    

101-102'F (38-39'C)

ชีพจร     

สุนัขโต  60-160 ครั้ง/นาที

 

ลูกสุนัข 200 ครั้ง/นาที

อัตราการหายใจ  

10-40 ครั้ง/นาที

อายุที่โตเต็มวัย   

เพศผู้ 7-10 เดือน  เพศเมีย 6-12 เดือน

(ขึ้นกับสายพันธุ์)  

วงรอบการเป็นสัด 2 ครั้ง/ปี

ระยะเวลาตั้งท้อง  

57-63 วัน

โปรแกรมการดูแลและฉีดวัคซีนในลูกสุนัข

อายุ

รายการวัคซีน

3-4 สัปดาห์

- ตรวจสุขภาพและถ่ายพยาธิ

 

- วัคซีนป้องกันหวัด และหลอดลมอักเสบ (ชนิดหยอดจมูก)

6-8 สัปดาห์ 

- ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หัดสุนัขและลำไส้อักเสบติดต่อหรือวัคซีนป้องกันไข้หัดสุนัข ตับอักเสบติดต่อ และเลปโตสไปโรซิส ฉีดวัคซีนป้องกันโรคลำไส้

 

- ตรวจสุขภาพ ถ่ายพยาธิ ป้องกันพยาธิหัวใจ

8-10 สัปดาห์   

- ฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัดสุนัข ตับอักเสบติดต่อ ลำไส้อักเสบติดต่อ หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ พิษสุนัขบ้า และเลปโตสไปโรซิส

10-14 สัปดาห์   

- ฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัดสุนัข ตับอักเสบติดต่อ ลำไส้อักเสบติดต่อ หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ พิษสุนัขบ้า และเลปโตสไปโรซิส

ทุก 1 ปี        

- ฉีดวัคซีนรวมป้องกันโรคไข้หัดสุนัข ตับอักเสบติดต่อ ลำไส้อักเสบติดต่อ หวัด-หลอดลมอักเสบติดต่อ พิษสุนัขบ้า และเลปโตสไปโรซิส

การป้องกันพยาธิหัวใจ   

การป้อนยาป้องกันทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง

การถ่ายพยาธิ 

ควรถ่ายซ้ำอย่างน้อยทุก 3 เดือน

การคุมกำเนิด

ทำหมันเมื่อสุนัขอายุ 8 เดือน - 1 ปีขึ้นไป ขึ้นอยู่กับพันธุ์

ตัดหาง

เมื่ออายุ 3-5 วัน

ตัดนิ้วติ่ง   

เมื่ออายุ 3 วัน - 1 สัปดาห์

หมายเหตุ    

โปรแกรมวัคซีน อาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

   ขอบคุณข้อมูล : บริษัท เบ็ทเทอร์ฟาร์ม่า จำกัด - www.yourbestfriend.in.th

 

สุนัข...สุดยอดสัตว์เลี้ยง : Your Best Friend

 

     เพื่อนแห่งความซื่อสัตย์และจริงใจ แม้วันนี้...คุณอาจมองหาความจริงใจได้ยากยิ่งในสังคมมนุษย์บนโลกใบนี้ แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนต่างยอมรับว่าคือ "เพื่อนแห่งความซื่อสัตย์และจริงใจ" ที่คอยปกป้องดูแล มอบความสุข และเป็นเพื่อนที่รับฟังทุกปัญหาของคุณอย่างไม่เกี่ยงงอน นี่แหละคือ นิยามของเพื่อนที่แสนดี ที่ใครๆ เรียกว่า...สุนัข วันนี้..คุณมอบความรักและดูแลเค้าดีพอหรือยัง

โกลเดน รีทรีฟเวอร์
(Golden Retriever)
เป็นมิตร ฉลาด ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ

 

ปั๊ก (Pug)
ฉลาด ชอบแสดงออก
ไม่เข้าใกล้คนแปลกหน้า

 

เยอรมัน เชพเพิร์ด
(German Shephera) ฉลาด
กล้าหาญ มีจิตใจมั่นคง ไม่ตื่นตกใจง่าย 

 

 

เชาว์-เชาว์ (Chow-Chow)
ร่าเริง รักอิสระ
ไม่ชอบสายจูง ชอบการเอาใจใส่

 

 

เซนต์เบอร์นาร์ด
(St. Bernard)
กล้าหาญ อดทน ฉลาด เรียนรู้ได้ดี 

 

 

ชิสุ (Shih Tzu)
ฉลาด สุภาพเรียบร้อย
ซื่อสัตย์ 

 

 

ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์
(Labrador Retrieve) สงบ
เงียบขรึม ฉลาด ซื่อสัตย์ รักเจ้าของ

 

 

ยอร์คไชร์ เทอร์เรียร์
(Yorkshire Terrier) ฉลาด
มั่นใจ ต้องการความรักจากเจ้าของ

 

 

ปอมเมอราเนียน
(Pomeranian) เป็นมิตร ว่องไว ใจสู้
ชอบเรียกร้องความสนใจ ไม่กลัวสุนัขใหญ่

 

 

ค็อกเกอร์ สเปเนียล
(Cocker Spaniel)
ฉลาด คล่องแคล่ว ร่าเริง เป็นมิตร เอาใจเก่ง

 

 

บางแก้ว
(Bang-Keaw) เลี้ยงง่าย
ซื่อสัตย์ กล้าหาญ หวงแหน ปกป้องเจ้าของ

 

 

พูเดิล
(Poodle) รักสะอาด
ฉลาด ชอบเลียนแบบ ชอบให้เอาใจ

 12 วิธีในการดูแลสุนัข

การอาบน้ำสุนัข : ก่อนอาบน้ำสุนัข ควรมีการแปรงขนเพื่อกำจัดสิ่งสกปรกและขนหมดอายุที่ติดอยู่ จากนั้นให้ใช้สำลีอุดหูสุนัข เพื่อป้องกันน้ำเข้าหู ค่อยๆ ราดน้ำลงบนตัวสุนัขใช้แชมพูที่ไม่ระคายเคืองตาฟอกให้ทั่วตัวก่อน แล้วจึงค่อยฟอกบริเวณหัวสุนัข ระวังอย่าให้แชมพูเข้าตาและปาก หลังการล้างแชมพูด้วยน้ำสะอาด ควรเช็ดขนสุนัขให้แห้งมากที่สุด เพื่อป้องกันสุนัขสะบัดน้ำ ถ้าขนสุนัขแห้งและแข็งมาก ควรใช้แชมพูปรับสภาพเพื่อให้ขนนุ่มสลวย

การให้อาหารสุนัขอย่างถูกต้อง : เจ้าของสุนัขควรมีการฝึกสุนัขให้กินอาหารที่จัดไว้ให้เท่านั้น ปกติควรให้อาหารวันละ 1-2 มื้อ ถ้าสุนัขอ้วนเกินไป ควรลดปริมาณแคลอรี่ของอาหารหรือเพิ่มการออกกำลังกาย ถ้าสุนัขเบื่ออาหารควรพาไปพบสัตวแพทย์ ถ้าพบว่ามีสุขภาพปกติ ควรแก้ไขโดยการให้อาหารวันละ 2 มื้อ ตั้งไว้สักพักหนึ่งแล้วยกออก โดยไม่ต้องสนใจว่าสุนัขจะกินอาหารหรือไม่ ซึ่งในที่สุดสุนัขก็จะเรียนรู้และกินอาหารตามที่จัดไว้อย่างไม่มีเงื่อนไข

 

การตัดเล็บสุนัข : ก่อนการตัดเล็บสุนัข ให้ตรวจนิ้วทั้ง 4 ขาของสุนัข โดยการจับนิ้วให้แยกจากกันและตรวจดูระหว่างนิ้ว เช็ดสิ่งสกปรกและเซลล์ผิวหนังที่ตายแล้วด้วยสำลีชุบน้ำ จากนั้นจึงตัดเล็บด้วยความระมัดระวัง ตะไบปลายเล็บให้เรียบ ในการตัดเล็บจะต้องไม่ตัดลึกถึงบริเวณที่เห็นเป็นสีชมพู เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีเลือดและเส้นประสาท ถ้าไม่แน่ใจควรให้สัตวแพทย์เป็นผู้ตัดเล็บให้

ความต้องการน้ำในแต่ละวันของสุนัข : ในแต่ละวันสุนัขสูญเสียน้ำได้หลายทางคือ ปัสสาวะ อุจจาระ และจากเหงื่อที่ออกมาบริเวณฝ่าเท้า ถ้าสุนัขขาดน้ำเกิน 48 ชั่วโมง จะเกิดสภาพการขาดน้ำอย่างถาวร อาหารกระป๋องโดยทั่วไปจะประกอบด้วยน้ำ 3 ใน 4 ส่วน แต่ก็ยังไม่เพียงพอสำหรับความต้องการของสุนัข โดยควรมีการจัดเตรียมน้ำสะอาดให้สุนัขกินได้ตลอดเวลา ถ้าพบว่าสุนัขดื่มน้ำมากผิดปกติ ควรปรึกษาสัตวแพทย์เนื่องจากสุนัขอาจมีความผิดปกติในร่างกาย

 

การให้ยาสุนัข : เมื่อถึงเวลาป้อนยา เจ้าของควรเดินไปหาสุนัขเอง ไม่ควรเรียกสุนัขมาหาเพื่อป้อนยา เนื่องจากในการเรียกสุนัขครั้งต่อไป อาจทำให้สุนัขไม่ยอมมาหา โดยในการป้อนยาเม็ดให้สุนัขนั่งลงแล้วใช้มื้ออ้าปากสุนัข วางยาเม็ดบนลิ้นให้ลึกที่สุดเท่าที่จะสอดถึงแล้วปิดปากสุนัขไว้จับหน้าแหงนขึ้นเล็กน้อย ใช้มือลูบลำคอลงจนกระทั่งสุนัขแลบลิ้นออกมาเพื่อเลียริมฝีปาก แสดงว่าได้กลืนยาแล้ว กรณีสุนัขไม่ยอมกินยาเม็ด อาจใช้ยาน้ำหรือบดยามห้ละเอียดผสมน้ำเชื่อมป้อนด้วยกระบอกฉีดยา โดยสอดเข้าด้านข้างของช่องปาก

การปฐมพยาบาลสุนัขเบื้องต้น : เจ้าของสุนัขควรมีการศึกษาวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดและอันตรายให้ลดลง กรณีที่สุนัขไม่รู้สึกตัว วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นคือ ให้จับสุนัขอ้าปากแล้วดึงลิ้นออกมาไม่ให้ขวางหลอดลม และตรวจการเต้นของหัวใจ โดยใช้มือกดบริเวณอก หลัง ข้อศอก ปกติสุนัขพันธุ์ใหญ่หัวใจจะเต้น 50-90 ครั้งต่อนาที ถ้าเป็นสุนัขพันธุ์เล็กหัวใจจะเต้น 150 ครั้งต่อนาที ถ้าสุนัขมีการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติ ควรรีบนำส่งสัตวแพทย์

การรักษาหูและตาของสุนัข : กรณีสุนัขมีปัญหาโรคตาหรือหูอีกครั้ง ไม่ควรใช้ยาเดิมโดยไม่ได้ปรึกษาสัตวแพทย์ ถึงแม้จะมีอาการใกล้เคียงกับอาการครั้งก่อน เพราะการใช้ยาผิดอาจทำให้โรคลุกลามมากขึ้น โดยปกติในการรักษาโรคหูหรือโรคตาจะใช้ระยะเวลาค่อนข้างนาน ดังนั้นเมื่อเห็นว่าตาหรือหูของสุนัขเป็นปกติแล้ว ก่อนหยุดให้ยาควรมีการปรึกษาสัตวแพทย์ เนื่องจากอาจต้องให้ยาต่อเนื่องสักระยะ เพื่อป้องกันการกลับมาของโรคอีก

พยาธิภายนอก (เห็บและหมัด) : แม้สุนัขตัวโปรดของคุณจะสะอาดเพียงใด ก็อาจพบเห็บและหมัดได้ เนื่องจากเห็บและหมัดสามารถปรับตัวอยู่บนสัตว์อื่นๆ ได้ดี จึงมีโอกาสที่สุนัขของคุณจะติดเห็บและหมัดได้ วิธีป้องกันคือ หมั่นทำความสะอาดสิ่งแวดล้อมของสุนัข เช่น พรมและที่นอนอย่างสม่ำเสมอ กรณีตรวจพบเห็บและหมัดในตัวสุนัขเพียงเล็กน้อย ให้ใช้ปากคีบจับและหมุนออก แต่ถ้ามีปริมาณมากให้กำจัดโดยใช้ยาสำหรับฆ่าเห็บและหมัด โดยก่อนใช้ควรปรึกษาสัตวแพทย์

การฝึกสุนัขให้เชื่อฟัง : สุนัขแต่ละพันธุ์และแต่ละตัวมีนิสัยที่แตกต่างกัน การฝึกจึงยากง่ายไม่เหมือนกัน อายุสุนัขที่เหมาะสำหรับเริ่มต้นการฝึกอย่างจริงจัง คือ 6 เดือน โดยการฝึกสุนัขต้องมีความอดทน ความพยายาม และความตั้งใจอย่างมาก ทั้งของผู้ฝึกและตัวสุนัขเอง เจ้าของสุนัขที่ไม่มีประสบการณ์ ควรให้สุนัขได้รับการฝึกจากครูฝึกสุนัขที่เชี่ยวชาญ

การดูแลสุนัขตั้งท้อง : สุนัขช่วงตั้งท้องควรได้รับการดูแลเอาใจใส่เป็นพิเศษ ปกติสุนัขจะตั้งท้องประมาณ 58-63 วัน โดยในระยะกลางของการตั้งท้อง ควรเพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้น 10% และเพิ่มขึ้นเป็น 30% หลังสุนัขคลอด และควรให้แม่สุนัขได้รับปริมาณแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่สมดุล ก่อนใกล้คลอดควรตัดขนรอบช่องคลอดและเต้านมให้สั้นลง เช็ดทำความสะอาดหัวนม ที่สำคัญขณะสุนัขตั้งท้องควรหมั่นแปรงขนให้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและจะได้ยอมรับการช่วยทำคลอด

การดูแลสุนัขพันธุ์ขนสั้น : สุนัขที่มีขนสั้นอาจไม่ต้องดูแลมาก แต่เพื่อให้สุนัขมีขนที่สะอาด ปราศจากรังแค เจ้าของสุนัขจึงควรดูแลเอาใจใส่เป็นประจำ โดยเริ่มจากใช้แปรงพิเศษที่เรียกว่า "สลิกเกอร์" แปรงขนเพื่อไม่ให้ขนพันกัน จากนั้นแปรงขนทั่วตัวอีกครั้งด้วยแปรงขนสัตว์ เพื่อกำจัดขนที่หมดอายุและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ ขณะแปรงขนให้ตรวจดูว่ามีเห็บและหมัดหรือไม่ ส่วนขนบริเวณหางและขาสุนัขให้ใช้ทวีซี่ละเอียดแปรง และเล็มขนที่ขึ้นไม่เป็นระเบียบออก

การดูแลสุนัขพันธุ์ขนยาว : สุนัขที่มีขนยาว ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษเพื่อขนที่ดูสวยงามอยู่เสมอ โดยเริ่มจากใช้แปรงสลิกเกอร์ค่อยๆ สางขนที่พันกันให้คลี่ออกอย่างนุ่มนวล แล้วแปรงขนซ้ำอีกครั้งด้วยแปรงขนหมุด จากนั้นให้ใช้หวีด้ามตรงที่มีซี่กว้างหวีอีกครั้งหนี่งในช่วงขาสุนัขที่มีขนยาว พร้อมกันนี้ให้ตัดขนที่ยาวบริเวณข้อขาและรอบเท้า โดยเฉพาะขนระหว่างนิ้วซึ่งเป็นบริเวณที่สิ่งสกปรกมักเข้าไปสะสม ทำให้เกิดการระคายเคือง

Source : Calendar 2002 of Better Pharma Inc.  
Create By : Kanyapak McManus
 

Design by Kanyapak McManus : CSJOY.COM Be a fan on facebook fanpage
CSJOY.COM WEBBOARD-กระดานสนทนา

scarecrow.gif

สวัสดีค่ะ-  กลับเข้าสู่หน้าแรก : Go to main page  สวัสดีครับ

Copyright(c) by CSJOY.COM, All rights reserved. Identification Number of DBD Thailand 0207314801370